เรื่องย่อหนัง Slumdog Millionaire
คนทั่วประเทศกำลังจับตามองจามาล (เดฟ พาเทล) หนุ่มกำพร้าวัย 18 ปีจากชุมชนคนยากจนในเมืองมุมไบเขากำลังเข้าร่วมรายการเกมโชว์เกมเศรษฐีและ เหลืออีกเพียงคำถามเดียวเท่านั้นที่เขาจะเอื้อมไปถึงรางวัลใหญ่ที่สุดคือ เงินก้อนโตถึง 20ล้านรูปี
แต่เมื่อต้องพักการถ่ายทำรายการในช่วงกลางคืนตำรวจกลับเข้ามาสอบปากคำเขาว่า เขากำลังโกงอยู่หรือไม่เด็กข้างถนนจนๆ คนหนึ่งจะรู้มากขนาดนี้ได้อย่างไร ทำไมคนที่ยอมรับด้วยตัวเองว่าไม่ได้ปราดเปรื่องอะไรอย่างจามาลกลับตอบคำถาม ได้มากกว่าผู้เข้าแข่งขันที่เรียนมาสูงกว่า ฉลาดกว่าและมีอันจะกินกว่า จามาลไม่รู้จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเองได้อย่างไรเขาจึงเล่าเรื่อง ชีวิตของเขาให้ทุกคนฟังเขาเติบโตมาพร้อมกับพี่ชายชื่อซาลิม ในชุมชนแออัด พวกเขาได้ผจญภัยด้วยกันบนท้องถนนได้เผชิญหน้ากับเจ้าถิ่นกลุ่มอื่นๆ และเรื่องราวเกี่ยวกับ ลาติกา (ฟรีดา ปินโต) เด็กสาวที่เขาหลงรักและสูญเสียไป
แต่ละบทแต่ละตอนของเรื่องที่จามาลเล่า เปิดเผยว่าเขารู้คำตอบของโจทย์แต่ละข้อในเกมโชว์ได้อย่างไรและในวันรุ่งขึ้น ที่จามาลจะได้ตอบคำถามสุดท้ายของเขาทั้งตำรวจและผู้ชมกว่า 60 ล้านคน อาจจะได้คำตอบด้วยว่าอะไรกันแน่ที่ผลักดันเด็กหนุ่มคนหนึ่งที่ไม่ได้ปรารถนา อยากจะร่ำรวยอะไรนักให้มายืนอยู่ในรายการ
ชื่อภาษาไทย สลัมด็อก มิลเลียร์แนร์ คำตอบสุดท้าย อยู่ที่หัวใจ
ชื่อภาษาอังกฤษ Slumdog Millionaire
จัดจำหน่ายโดย United Home Entertainment
นักแสดง
Dev Patel
Anil Kapoor
Saurabh Shukla
Rajendranath Zutshi
Jeneva Talwar
Freida Pinto
Irrfan Khan
ผู้กำกับ
Danny Boyle
ดาวเด่นของงานนี้หนีไม่พ้น Slumdog Millionaire เต็งหนึ่งแบบนำเดี่ยวที่โกยรางวัลใหญ่ในปีนี้ไปถึง 8 สาขา ตั้งแต่ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ผู้กำกับยอดเยี่ยม, บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม, การถ่ายภาพยอดเยี่ยม, ลำดับภาพยอดเยี่ยม, มิกซ์เสียงยอดเยี่ยม, เพลงประกอบยอดเยี่ยม, ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม
ปีนีมีหนังเรื่องหนึ่งที่ผมแอบลุ้นอยากให้ได้รางวัลออสการ์ นั่นคือ “สลัมด็อก มิลเลียนแนร์ (Slumdog Millionaire) ” และก็สมหวัง เพราะจากการประกาศผลรางวัลออสการ์ 2009 เมื่อวันจันทร์ที่ผ่าน Slumdog Millionaire หนังที่สร้างโดยคนอังกฤษ แสดงโดยคนอินเดีย กวาดรางวัลในอเมริกาไปได้ทั้งหมดถึง 8 รางวัล รวมทั้งภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปีด้วย
คนฮอลลีวู้ดได้ดูหนังเรื่องนี้แล้วชื่นชมเป็นพิเศษ (ไม่อย่างนั้นคงไม่ให้รางวัลมากมายขนาดนั้น) แต่คนที่รู้สึกเย็นชาหนังเรื่องนี้กลับกลายเป็นคนอินเดีย จนเกิดการประท้วงในอินเดีย และอาจมีคดีฟ้องร้องกันยืดยาวต่อไปก็เป็นได้
นี่คือภาพแสดงความไม่พอใจของชาวอินเดียที่มีต่อหนังเรื่องนี้
ตอนที่ผมได้ยินเรื่องความไม่พอใจของคนอินเดียที่มีต่อหนังเรื่องนี้ ใจก็พลันนึกไปถึงหนังไทยเรื่องหมากเตะ ที่ถูกรัฐบาลลาวและคนลาวประท้วง จนผู้สร้างต้องนำมาทำใหม่ ตัดต่อใหม่ พออกฉายรายได้ไม่ดี ขาดทุนไปพอสมควร
(ตอนท้าย ๆ ของข้อเขียนวันนี้ ผมนำบทความของอาจารย์ วรากร สามโกเศศ จากมติชนวันที่ 19 ก.พ.52 หน้า 6 มาอธิบายว่าทำไมคนอินเดียจึงรู้สึกเย็นชากับหนังรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมของ ออสการ์ เรื่องนี้)
Slumdog Millionaire หนังทุนสร้างเพียง 15 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่กำลังทำเงินสู่ 100 ล้านเหรียญสหรัฐจากทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ เป็นเรื่องราวของ จามาล (Jamal) หนุ่มอินเดียกำพร้าวัย 18 ปี ที่อาศัยอยู่ย่านสลัม ในเมืองมุมไบ (หรือบอบเบย์เดิม)เขาโชคดีได้เป็นผู้แข่งขันรอบสุดท้ายของรายการโทรทัศน์ยอด นิยม แข่งขันตอบปัญหาของอินเดีย "Who Wants to be a Millionaire" ผู้คน 60 ล้านคนที่ดูรายการต่างเชียร์ให้กำลังใจเขา
จนถึงคำถามสุดท้ายที่จะทำให้ได้รางวัลชนะเลิศ 2 ล้านรูปี เวลาก็หมดพอดี ต้องกลับมาตอบคำถามอีกในวันรุ่งขึ้น
แต่เมื่อต้องพักการถ่ายทำรายการในช่วงกลางคืน ตำรวจกลับเข้ามาสอบปากคำเขา ว่าเขากำลังโกงอยู่หรือไม่ คนจำนวนมากสงสัยว่าคนไร้การศึกษาอย่างเขาสามารถเอาชนะคนเก่ง ๆ ที่เรียนมามากมายได้อย่างไรจนเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศ ทำไมคนที่ยอมรับด้วยตัวเองว่าไม่ได้ปราดเปรื่องอะไรอย่าง จามาล กลับตอบคำถามได้มากกว่าผู้เข้าแข่งขันที่เรียนมาสูงกว่า ฉลาดกว่า และมีอันจะกินกว่า
จามาล ไม่รู้จะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเองได้อย่างไร เขาจึงเล่าเรื่องชีวิตของเขาให้ทุกคนฟัง เขาเติบโตมาพร้อมกับพี่ชายชื่อ ซาลิม ในชุมชนแออัดพวกเขาได้ผจญภัยด้วยกันบนท้องถนน ได้เผชิญหน้ากับเจ้าถิ่นกลุ่มอื่นๆ และเรื่องราวเกี่ยวกับ ลาติกา (ฟรีดา ปินโต) เด็กสาวที่เขาหลงรักและสูญเสียไป
เรื่องที่จามาลเล่า เขาสามารถอธิบายให้ฟังได้อย่างชัดเจนว่าเขารู้คำตอบของคำถามแต่ละข้อในเกมโชว์นี้ได้อย่างไร
และในวันรุ่งขึ้นที่ จามาล จะได้ตอบคำถามสุดท้ายของเขา ทั้งตำรวจและผู้ชมกว่า 60 ล้านคน อาจจะได้คำตอบด้วยว่า อะไรกันแน่ที่ผลักดันเด็กหนุ่มคนหนึ่ง ที่ไม่ได้ปรารถนาอยากจะร่ำรวยอะไรนัก ให้มายืนอยู่ในรายการนี้
Danny Boyle ผู้อำนวยการสร้างได้ทิ้งผลงานที่น่าประทับใจ ชาวโลกชอบและเอาใจช่วย Jamal แต่เหตุใดคนอินเดียกับรัฐบาลอินเดียจึงเย็นชากับหนังดีเรื่องนี้ อาจารย์ วรากร สามโกเศศบอกว่า ...“ ... คำตอบก็คือความยากจนที่แสดงบนจอนั้นอาจใกล้ความจริงเกินไป
มุมไบเป็นชื่อใหม่เมื่อประมาณ 10 ปีเศษของบอมเบย์ ซึ่งเป็นชื่อที่อังกฤษเรียกมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 …เมืองมุมไบ หรือบอมเบย์นี้ มีประชากร 13.6 ล้านคน ใหญ่เป็นที่สองในโลกรองจากนิวยอร์ก ถ้านับรวมพื้นที่มหานครรอบข้างด้วยแล้วก็จะมีประชากรถึง 20.8 ล้านคน ผู้คนอยู่กันหนาแน่นถึง 20,000 กว่าคนต่อตารางกิโลเมตร มุมไบเป็นศูนย์กลางการค้า การเงิน และการบันเทิง (Bollywood หรือ Hollywood ของอินเดียอยู่ที่นี่) เป็นเมืองใหญ่ที่รับครึ่งหนึ่งของสินค้าที่เข้าอินเดียทั้งหมด
เมื่อเมืองใหญ่ขนาดนี้และมีประชากรอยู่หนาแน่นอีกทั้งมีการกระจายรายได้ที่ บิดเบี้ยวสุดโต่ง การมีสลัมใหญ่ของเมืองจึงเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่มาครั้งนี้อินเดียเปลี่ยนไปแล้วเพราะกำลังจะเป็นสมาชิกของพลังเศรษฐกิจ โลก ดังนั้น ชีวิตชาวสลัมที่ถูกตีแผ่อย่างถึงกึ๋นเช่นนี้จึงไม่เป็นที่น่ายินดีอีกต่อไป สิ่งที่บางกลุ่มในอินเดียต่อต้านก็คือคำว่า dog โดยเฉพาะ slumdog ว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยามชาวสลัม
Danny Boyle ผู้สร้างภาพยนตร์อธิบายว่า dog มาจากคำว่า underdog หมายถึง ผู้ด้อยข้อได้เปรียบ หรือผู้เสียเปรียบนั่นเอง ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่มีคนเอาใจช่วยโดยธรรมชาติ และเมื่อบวกกับ slum เป็น slumdog ก็ทำให้เห็นภาพชัดเจนของชาวสลัม การจะตัดสินว่าหนังดูถูกเหยียดหยามหรือไม่ขอให้ดูเนื้อหาของผลงานความไม่ พอใจของคนอินเดียที่มีต่อหนังเรื่องนี้ บางส่วนอาจมาจากประเด็นความเข้าใจผิดทางวัฒนธรรม แต่ที่ไม่อาจปฏิเสธได้ก็คืออินเดียยุคปัจจุบันเปลี่ยนไป... อดทนกับการเปิดเผยความจริงน้อยลงลึก ๆ อาจอยากให้มีแต่ Bollywood เป็นผู้บันทึกหน้าตาของอินเดียลงบนแผ่นฟิล์มสู่โลกภายนอก อยากให้โลกเห็นแต่แผ่นดินที่น่าลงทุน มีความก้าวหน้าด้าน IT และมีโอกาสในการลงทุนอย่างไม่มีขีดจำกัดความจริงเป็นเรื่องเจ็บปวด แต่การหลีกหนีความจริงจะสร้างความเจ็บปวดมากยิ่งกว่าในช่วงเวลาต่อไป “
อีกประเด็นหนึ่งที่ผมได้แง่คิดจากหนัง 8 รางวัลออสการ์เรื่องนี้ หนังที่ใช้ทุนสร้างเพียง 15 ล้านดอลล่าร์ แต่ทำรายได้สูงถึงเกือบ 100 ล้านดอลล่าร์ มันชี้ให้เห็นว่าของดีไม่จำเป็นต้องแพงเสมอไป
ใช้เงินน้อย แต่ใช้สมองเยอะ ผลลัพธ์ที่ได้ก็มหาศาลได้เหมือนกัน ยิ่งยุคนี้วิกฤติเศรษฐกิจ เราต้องรู้จักคิด คิด คิด ให้มากขึ้นกว่าเดิม แต่ต้องใช้เงินให้น้อย น้อย น้อย ลง เพื่อความอยู่รอดโดยเฉพาะพวก underdog หรือมวยรอง รายได้ก็ต่ำ เงินทุนก็ต่ำอยู่แล้ว อย่าเผลอทำตัวเป็นพวกรสนิยมสูง แต่รายได้ต่ำเป็นอันขาด บางครั้งการทำอะไรที่ไม่ต้องหรูหราอลังการมาก ทำพอดี ๆ เรียบง่ายก็มีคุณค่ามากได้เหมือนกัน ตรงกับแนวคิด “Low Profile , but High Profit” ที่ผมชอบนำมาใช้ในชีวิตส่วนตัวและการงาน เห็นความสำเร็จด้านรายได้ของหนังต้นทุนต่ำเรื่องนี้ แล้วทำให้ผมนึกถึงหนังไทยฟอร์มเล็ก เรื่อง “รักแห่งสยาม” ลงทุนไม่มากนัก แต่ผลลัพธ์ออกมาดีมาก ทั้งด้านเนื้อหา ชื่อเสียง และรายได้
หนังเรื่องนั้นพูดถึงเรื่องความรักในหลากหลายมิติ รักของแม่ที่มีต่อลูก รักของสามีภรรยา และรักของชายกับชาย ใครเป็นพ่อเป็นแม่มีลูกวัยรุ่น ถ้าดูด้วยความเข้าใจ เปิดใจ ยอมรับความจริง แล้วเราก็จะไม่โกรธผู้สร้างหนัง จะว่าไปแล้วหนังสองเรื่องนี้พูดถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในเมืองใหญ่ 2 เมือง ต่างกันตรงที่หนังเรื่อง “รักแห่งสยาม” บอกเล่าปัญหาความรักและครอบครัวเล็ก ๆ ของคนกรุงเทพ แต่ “สลัมด็อก มิลเลียนแนร์” เปิดเผยภาพปัญหาชีวิตต้องสู้ของคนสลัมยากจนจำนวนมากในเมืองใหญ่อันดับสองรอง จากนิวยอร์ก
โดย Pro.Trainer
มันเป็นช่วงเวลาแห่งความจริงในสตูดิโอที่บันทึกภาพรายการโทรทัศน์ยอดฮิตของ อินเดีย "Who Wants To Be A Millionaire" ต่อหน้าผู้ชมในห้องส่งที่เงียบกริบ และยืนอยู่ภายใต้แสงไฟที่แผดเผาของสตูดิโอ จามัล มาลิค เด็กหนุ่มจากชุมชนแออัดในมุมไบกำลังเผชิญกับคำถามข้อสุดท้าย และโอกาสที่จะได้รับเงินรางวัลมหาศาลถึง 20 ล้านรูปี
เพรม คูมาร์ พิธีกรของรายการนี้ไม่ได้รู้สึกเห็นใจผู้เข้าแข่งขันที่ชีวิตกำลังจะ เปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือคนนี้เลยแม้แต่น้อย ด้วยความที่เขาไต่เต้าขึ้นมาจากโคลนตม เพรมก็เลยไม่สบอารมณ์นักที่จะต้องถูกแย่งความเด่นดังใน Millionaire และไม่ยอมเชื่อว่าเด็กหนุ่มจากสลัมจะรู้คำตอบทั้งหมดจริง เมื่อรายการหมดเวลาและพักการบันทึกภาพในช่วงกลางคืน เพรมก็เตรียมตำรวจรอไว้ด้านนอกสตูดิโอเพื่อจับจามัล ผู้ที่เขามั่นใจว่าต้องโกงแน่ๆ
หลังจากที่สอบสวนผู้เข้าแข่งขันคนนี้ตลอดทั้งคืน ทางพนักงานสอบสวนก็ได้พบว่าจามัลเองก็สับสนพอๆ กับทุกคนที่เขามาได้ไกลขนาดนี้ พวกเขาได้ทบทวนคำถามทีละข้อๆ และจามัลก็อธิบายว่าเขารู้คำตอบแต่ละข้อได้อย่างไร และระหว่างที่เขาทำเช่นนั้น เรื่องราวพิเศษสุดของเด็กหนุ่มคนนี้ก็ค่อยๆ เผยออกมา เรื่องราวของจามัลเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอินเดียสมัยใหม่ เขาเติบโตขึ้นมาในชุมชนแออัดในมุมไบ ตอนเขาเป็นเด็กเล็กๆ แม่ของเขาถูกฆ่าตายในเหตุชุมนุมทางศาสนา ทิ้งให้จามัลต้องเผชิญโลกตามยถากรรมกับซาลิม พี่ชายของเขาและลาติกา เด็กหญิงกำพร้าที่จามัลคอยดูแลและมีความรักให้ เมื่อพวกเขาเติบโตขึ้น
วัยเด็กที่ยากจนข้นแค้นของจามัล ที่ต้องอาศัยอยู่ในชายขอบที่ยากจนที่สุดของเมืองไม่ได้ทำลายคุณลักษณะดีงาม ของตัวเขาเลย แต่ซาลิม พี่ชายของเขากระหายในอำนาจและทรัพย์สินเงินทอง ความตึงเครียดและความเป็นปรปักษ์ระหว่างพี่น้องทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อพวก เขาเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ จนกระทั่งการทรยศหักหลังบีบให้ทั้งสามต้องพรากจากกัน และจามัลก็เสียลาติกาไป ในตอนที่เขารู้ตัวว่าเขารักเธอจริงๆ เมื่อเขาพบเธออีกครั้ง ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงไปอย่างเรียกกลับคืนไม่ได้ ซาลิมทำงานให้แก๊งสเตอร์ผู้เหี้ยมโหด และหัวหน้าแก๊งของเขาก็แต่งงานกับลาติกา จามัลยอมเสี่ยงทุกอย่างในชีวิตเพื่อปลดปล่อยคนที่เขารักให้เป็นอิสระ เพียงเพื่อจะสูญเสียเธอและพี่ชายของเขาอีกครั้ง
แม้แต่ตัวพนักงานสอบสวนผู้โหดเหี้ยมก็ยังถูกดึงดูดเข้าไปมีส่วนร่วมกับเรื่องราวของจามัล และเริ่มจะเชื่อว่า "เด็กสลัม" คนนี้กำลังบอกความจริงอยู่ ในการพูดคุยครั้งสุดท้าย เราจะได้รู้ถึงเหตุผลที่แท้จริงเบื้องหลังการตัดสินใจของจามัลที่จะออก รายการนี้ หลังจากที่เขาเชื่อจนหมดใจ พนักงานสอบสวนก็ปล่อยเขากลับไปออกรายการ เพื่อตอบคำถามข้อสุดท้าย ภายในชั่วข้ามคืน เรื่องราวความฝันของจามัลที่ออกรายการและการถูกจับกุมตัวในภายหลังของเขาได้ เปลี่ยนให้เขากลายเป็นที่สนใจของสื่อมวลชน ในอีกมุมหนึ่งของเมือง ซาลิมและลาติกาได้เห็นจามัลในข่าว
ด้วยความตกใจจนเกิดสำนึกผิด ซาลิมได้ปลดปล่อยลาติกาจากการถูกกุมขังโดยสามีที่รักความรุนแรงของเธอ แม้จะรู้ดีว่ามันจะส่งผลอย่างไรต่อชีวิตเขา ลาติกาขับรถข้ามเมืองไปยังสตูดิโอที่ถ่ายทำรายการ ในขณะที่จามัลกลับไปนั่งเก้าอี้อีกครั้งเพื่อตอบคำถามข้อสุดท้าย แต่เธอก็ต้องเจอกับการจราจรที่ติดขัดในมุมไบ
ระหว่างที่คนทั่วทั้งอินเดียจับตามองเขาชนิดลืมหายใจ จามัลก็ถามว่าเขาจะขอโทรศัพท์หาเพื่อนได้ไหม และเขาก็กดหมายเลขโทรศัพท์เบอร์เดียวที่เขารู้ ซึ่งก็คือเบอร์มือถือของพี่ชายเขา และโทรศัพท์มือถือที่ซาลิมได้มอบให้กับลาติกาในการหลบหนีก็ดังขึ้น...ลาติกา กดรับโทรศัพท์ และในที่สุด คนที่รักกันก็ได้กลับมาอยู่คู่กันอีกครั้ง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น